"ไมโครพลาสติก" จากอาหารสู่ทะเล

Last updated: 29 มิ.ย. 2565  |  580 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"ไมโครพลาสติก" จากอาหารสู่ทะเล

เปิดผลการวิจัยที่ชี้ชัดว่าพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วไม่ได้อยู่แค่ในมหาสมุทร แต่อยู่ในร่างกายมนุษย์โดยเฉลี่ยคนละ 10,000 ชิ้น และกำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

 เมื่อไมโครพลาสติกเหล่านี้หลุดรอดเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราโดยที่เราไม่รู้ตัวนั้น ข่าวร้ายก็คือ พลาสติกเล็กจิ๋ว(แต่ร้าย)พวกนี้มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า BPA หรือบิสฟีนอลเอ สารตัวนี้จะไปรบกวนการทำงานของระบบในร่างกาย รบกวนการทำงานการปล่อยฮอร์โมนเอสโทรเจน

แม้จะยังไม่มีการศึกษาลงไปในรายละเอียดว่า ไมโครพลาสติกที่เข้าไปในร่างกายนั้นจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์อย่างไรบ้าง แต่จากการคำนวณการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ เชื่อว่าโดยเฉลี่ยในคนที่ทานอาหารปกติน่าจะมีไมโครพลาสติกอยู่ในกระเพาะอาหารมากกว่า 10,000 ชิ้น (ขึ้นอยู่กับลักษณะและปริมาณการรับประทานอาหารทะเล)

"บางคนบอกว่าถ้าอยู่ในกระเพาะอาหารแล้วไม่น่าเป็นห่วง เพราะน่าจะขับถ่ายออกไป แต่จริงๆ แล้วการขับถ่ายไม่สามารถทำให้ไมโครพลาสติกออกได้หมด ก็ยังเหลือตกค้าง

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือถ้าตกค้างอยู่ภายในร่างกายแล้ว และไมโครพลาสติกมีการแตกตัวเล็กลงจากไมโครเมตร เป็นนาโนเมตร หรือพิโคเมตร หรือเล็กเท่ากับแบคทีเรียหรือไวรัส อาจจะหลุดเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดได้ แบบนี้น่ากลัว เพราะว่าแบคทีเรีย ไวรัสเข้าได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นขนาดไมโครพลาสติกหลุดเข้าไปในเส้นเลือดอาจจะไปขวางกั้นเส้นเลือดเราก็ได้ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือถ้าไปฝังตามเนื้อเยื่อของเรา อาจจะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งเกิดขึ้นได้ ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ต้องใช้เวลานานพอสมควรที่จะเกิดขึ้นให้เห็น

เพราะฉะนั้นตอนนี้เราก็ได้แค่ทราบแล้วก็ระวังไว้ เพราะว่าไมโครพลาสติกปนเปื้อนไปทุกหนแห่งแล้ว เราก็ต้องปรับพฤติกรรมของเราเองด้วย"


“การจัดการขยะที่ดี เราต้องจัดการตั้งแต่บนบก เพราะพอพลาสติกลงไปในทะเลแล้ว การจัดการจะลำบากมาก ถึงแม้เราจะเก็บกวาดขยะก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเก็บได้หมด ยิ่งถ้าเป็นไมโครพลาสติกแล้ว เรายิ่งไม่สามารถจัดการมันได้เลย เพราะฉะนั้นยิ่งลงทะเลแล้วแตกหักเป็นชิ้นเล็กมากเท่าไหร่ อันตรายหรือผลกระทบก็จะยิ่งสูง การที่เราจะทำความสะอาดก็ยิ่งยาก ฉะนั้นทางที่ดีคือไม่ให้ขยะและพลาสติกลงทะเลไปตั้งแต่แรกเพราะ ณ ขณะนี้เราไม่สามารถสร้างพลาสติกที่ย่อยสลายได้ในทะเล”

ความเป็นไปได้มากที่สุดในการรับมือกับภัยจิ๋วเหล่านี้ จึงยังไม่มีอะไรดีไปกว่าการลดปริมาณขยะพลาสติก ทั้งปริมาณการผลิตและการใช้ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้